กกร.ห่วงปัจจัยเสี่ยงปีนี้เพียบทั้งแรงงาน ยุบสภา ส่งออกชะลอ ค่าไฟแพง
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยหอการค้าฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ประจำเดือน ม.ค. 66ว่า กกร. ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 66 ยังมีข้อจำกัดการฟื้นตัว แม้แนวโน้มภาคการท่องเที่ยวของไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ภาคเอกชนยังมีความกังวลเรื่องปัญหาแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่ยังขาดแคลน จึงจำเป็นที่รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหาแนวทางดึงกลุ่มแรงงานกลับเข้าสู่ภาคธุรกิจท่องเที่ยวให้เพียงพอในการรองรับการฟื้นตัวต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“เศรษฐกิจไทยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวไทย 11.1 ล้านคน ในปีที่ผ่านมา มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องฟื้นตัวได้ อัตราการเข้าพักโรงแรมในเดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 63% เข้าใกล้ระดับปกติที่ 77% และปีนี้ มีปัจจัยหนุนจากการที่ประเทศจีนเปิดประเทศ โดยผ่อนคลายมาตรการกักตัวภาคบังคับ ตั้งแต่ 8 ม.ค. 66 น่าจะทำให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อาจสูงได้ถึง 20-25 ล้านคน ที่ประชุม กกร. จึงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 66 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3-3.5% การส่งออกคาดอยู่ในกรอบ 1-2% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดอยู่ในกรอบ 2.7-3.2%”
ทั้งนี้ กกรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ประเมินว่า การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดของจีนจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนกลับมาเดินหน้าฟื้นตัวได้มากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป แม้ในช่วงแรกของการผ่อนคลายจะเกิดการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตและการส่งออกของจีนหดตัวลงเพิ่มเติมในระยะนี้ เชื่อว่า จะทำให้เศรษฐกิจจีนมีโอกาสเติบโตได้ 5% ตามเป้าหมาย เทียบกับปีก่อนที่เติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย ช่วยพยุงไม่ให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมากเกินไปในภาวะที่ยังเผชิญแรงกดดันจากราคาพลังงานในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยต้องติดตามการส่งออกที่มีสัญญาณชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงจากราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้า และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นความท้าทายของภาคเอกชน
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะลดค่าเอฟทีภาคธุรกิจ เพื่อช่วยให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นเฉลี่ยหน่วยละ5.33บาท จากเดิมหน่วยละ5.69บาท แต่ยังเป็นระดับสูงกว่าที่เอกชนต้องการให้พยุงไว้หน่วยละ4.72บาท จะส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้นระดับ9-10%ถือเป็นระดับที่สูงเช่นกัน แม้ผู้ผลิตจะพยายามดูแลราคาสินค้าไม่ให้พุ่งสูงมากเกินไปก็ตาม โดยโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบอีกกว่า5,000เมกะวัตต์ ตามแผนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดไว้ แม้จะเป็นพลังงานสะอาด แต่จะส่งผลถึงค่าความพร้อมจ่าย ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับเกินมากพออยู่แล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มสัดส่วนต้นทุนภาระมากขึ้นไปอีก
“อีกความกังวล คือ หากรัฐบาลยุบสภา จะทำให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาแก้ไขด้านพลังงานร่วมกันอาจเกิดเกียร์ว่างอีก จึงอยากฝากไปถึงรัฐบาลชุดใหม่ให้ดูเรื่องการแก้ปัญหาค่าเอฟทีในระยะยาว เพราะปัญหาดังกล่าวทำให้ล่าสุดโรงพยาบาลก็ประกาศปรับขึ้นค่าบริการนักลงทุนต่างชาติที่จะมาลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รวมถึงนักธุรกิจก็เริ่มชะลอและทบทวนสัญญาที่จะเข้ามาลงทุนในไทยแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งระบบ สะท้อนเรื่องพลังงานเป็นหัวใจสำคัญในการแข่งขันของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ และท้ายสุดจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมเงินเฟ้อ เป็นปัญหาที่ต้องมาคุยกันเรื่องโครงสร้าง”